วิสัยทัศน์ พันธกิจ

วิสัยทัศน์

คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21

พันธกิจ (MISSION)

    • จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ได้ตามมาตรฐาน มีสมรรถนะ ทักษะและคุณลักษณะเด็กไทย
      ในศตวรรษที่ 21
    • นักเรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาค ทั่วถึง เท่าเทียม มีความปลอดภัย
    • พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ความสามารถ สามารถปฏิบัติหน้าที่เต็มตามศักยภาพ มีทักษะด้านการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ในการบริหารจัดการศึกษา
    • พัฒนาเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา ให้มีความเข้มแข็ง บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล สร้างภาคีเครือข่าย นำระบบข้อมูลสารสนเทศ มาใช้ในการบริหารจัดการอย่างคุ้มค่า
    • พัฒนาหน่วยงาน องค์กร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นำศาสตร์พระราชามาปรับใช้ในการทำงานและการดำรงชีวิต

เป้าประสงค์ (GOALS)

  • นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรักและศรัทธา ในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้หน้าที่ มีวินัย ภูมิใจในความเป็นชาติไทย
  • นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐาน มีความรู้ มีทักษะ สมรรถนะ และคุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21
  • นักเรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง เสมอภาค เท่าทียม มีความปลอดภัย
  • ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เต็มศักยภาพ
    มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มีขวัญกำลังใจในการทำงาน ได้รับการยกย่อง เชิดชูเกียรติ
  • สำนักงานเขตพื้นที่ และสถานศึกษา บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ เทคโนโลยีดิจิทัล สร้างภาคีเครือข่าย ความร่วมมือทุกภาคส่วน

กลยุทธ์ (Strategy)

กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ

พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย มีระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัย ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับภัยรูปแบบต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตและสนับสนุนสถานศึกษา ให้มีความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

กลยุทธ์ที่ 2 เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน

ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชากรวัยเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับ ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาคจนจบการศึกษาภาคบังคับ จัดการศึกษาให้ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ส่งเสริมเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส มีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ สนับสนุนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมให้มีคุณภาพและบูรณการอย่างยั่งยืน สร้างการมีส่วนร่วมของสังคมและระดมทรัพยากรเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา สนับสนุนให้มีเทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมในการสร้างโอกาสทางการศึกษา พัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

กลยุทธ์ที่ 3 ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

คุณภาพผู้เรียน

ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 อย่างครบถ้วน น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
สู่การปฏิบัติ จัดการศึกษาตามขีดความสามารถของผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความถนัดและศักยภาพของแต่ละบุคคล วางรากฐานการศึกษาเพื่ออาชีพ ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ความต้องการของตลาดแรงงาน การพัฒนาประเทศและเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาทักษะด้านดิจิทัลและด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่นำไปสู่ Digital Life & Learning พัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรสถานศึกษาบนฐานมโนทัศน์ที่หลากหลาย

คุณภาพครูและบุคลากร

ส่งเสริม สนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีการพัฒนาตนเองทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
มีจรรยาบรรณ และจิตวิญญาณความเป็นครู ส่งเสริมให้ครูสามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม (Co-creation) ให้กับผู้เรียนในทุกระดับชั้น พัฒนาศักยภาพด้านการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment For Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เสริมสร้างขวัญกำลังใจในความก้าวหน้าทางวิชาชีพ และการยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากร

กลยุทธ์ที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา

พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการใช้ระบบบริหารจัดการศึกษาพื้นฐานที่ดีสำหรับสถานศึกษาให้เป็นระบบเดียวเพื่อลดภาระงานครู ลดความซ้ำซ้อนของระบบงานและการจัดเก็บข้อมูล ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาทั้งในและนอกสังกัด เพื่อบูรณาการการใช้ทรัพยากรของสถานศึกษา โดยใช้พื้นที่เป็นฐานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน